ฏีกาน่ารู้ (Deeka)
Login Form
งานให้บริการอื่น
- รายละเอียด
- หมวด: ยินดีต้อนรับ
- เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 09 มกราคม 2554 16:41
- เขียนโดย Joomla!
- ฮิต: 6933
-
ให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายในภาคธุรกิจ
-
ให้บริการติดต่อหน่วยงานราชการ เช่น กรมที่ดิน,สรรพากร
-
ให้บริการวางแผนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
-
ให้บริการรับรองเอกสารโนตารี
(Notary Public)
-
ให้ความเห็นทางกฎหมาย
-
ให้บริการจดทะเบียนการค้าพาณิชย์ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า มูลนิธิสมาคม ฯลฯ
-
ให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
-
ให้บริการไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้และติดตามหนี้สิน
-
ให้บริการสืบทรัพย์และบังคับคดี
-
ให้บริการจดจัดตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท ดูแลผลประโยชน์ทางธุรกิจ
งานคดี
- รายละเอียด
- หมวด: ยินดีต้อนรับ
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 01 มกราคม 2554 00:00
- เขียนโดย Joomla!
- ฮิต: 5450
- รับดำเนินคดีทั่วราชอาณาจักร
- คดีแพ่ง
- คดีกู้ยืม หนี้ ฉลากกินรวบ /คดีเช็ค ตั๋วเงิน หนี้พนัน /คดีขับไล่เรียกค่าเสียหาย /คดีละเมิดเรียกค่าเสียหาย /คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ /คดีผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ /คดีจ้างทำของ รับสภาพหนี้ /คดีก่อสร้าง /คดีทางภาระจำยอม ทางจำเป็น ทางสาธารณะ /คดีปลูกโรงเรือนรุกล้ำ แดนกรรมสิทธิ์ /คดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน /คดีครอบครองปรปักษ์ /คดีร้องขอจัดการมรดก /คดีร้องขอตั้งผู้อนุบาล /คดีร้องขอตั้งผู้ปกครอง /คดีฟ้องหย่า ฯลฯ
- คดีอาญา
- คดีเช็ค /คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ /คดีฉ้อโกง /คดียักยอก /คดีรับของโจร /คดีฆ่า ทำร้ายร่างกาย /คดีกรรโชคทรัพย์ ฯลฯ
- คดีแรงงาน
- ผิดสัญญาจ้างแรงงาน /ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด /เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม /ค่าทดแทน เงินทดแทน /เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ฯลฯ
-
คดีล้มละลาย
-
ฟ้องล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการ /ให้การในคดีล้มละลาย /ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย /ขอประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย /คัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ
-
คดีผู้บริโภค, คดีปกครอง, คดีภาษีอากร, คดีเยาวชนและครอบครัว, คดีทรัพย์สินทางปัญญา, คดีการค้าระหว่างประเทศ, คดีชั้นอุทธรณ์ชั้นฎีกาและคดีทุกประเภท
ข่าวสารทั่วไป (News)
- รายละเอียด
- หมวด: ยินดีต้อนรับ
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 01 มกราคม 2554 00:00
- เขียนโดย Thossaponlawyer
- ฮิต: 4831
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายทศพล นิติลอว์ ได้เริ่มจัดทำเว็ปเฟสนี้ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เพื่อประชาสัมพันธ์สำนักงาน
ผู้เข้าเยี่ยมชมทุกท่านสามารถ กดถูกใจและติดตามสำนักงานได้อีกทางหนึ่งที่ https://www.facebook.com/Law.Office.Thossapon.Nitilaw
คดีตัวอย่าง (Case Study)
- รายละเอียด
- หมวด: ยินดีต้อนรับ
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 01 มกราคม 2554 00:00
- เขียนโดย Joomla!
- ฮิต: 9904
คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่า ไม่เป็นความผิดตาม พรบ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
1. ออกเช็คแลกเงินสด
2. ขายลดเช็ค
3. ขอยืมเงินแล้วออกเช็คให้ไว้
4. ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ซึ่งการกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓
5. ขณะออกเช็คยังไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ แม้ภายหลังจะมีการทำหนังสือสัญญากู้เงิน ก็เป็นการออกเช็คที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
6. ออกเช็คชำระหนี้ซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคากว่า ๕๐๐ บาท ขึ้นไป โดยไม่มีหลักฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ วรรคสองและวรรคสาม
7. ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “เช็คพ้นกำหนดการจ่ายเงิน”
8. นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค
9. ในวันที่ส่งจ่ายตามเช็ค ผู้สั่งจ่ายมีเงินในบัญชีเพียงพอที่จะจ่ายเงินตามเช็ค แต่ผู้ทรงกลับนำเช็คไปขึ้นเงินหลังวันที่สั่งจ่าย
10. เช็คไม่ลงวันที่
11. ออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ออกเช็ค แม้จะได้ตกลงกำหนดวันที่ผู้ทรงจะลงในเช็คไว้ต่อกัน ผู้ทรงลงวันตามที่ตกลงกัน ก็หาเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่
12. ออกเช็คไม่ลงวันที่ แม้ผู้ทรงจะลงวันที่ในเช็คตามผู้สั่งจ่ายและภริยาบอกให้ลงหรือผู้สั่งจ่ายบอกให้บุตรสาวลงวันที่ในเช็คหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นลงวันที่ในเช็ค หรือแม้ผู้ทรงจะลงวันที่ในเช็คต่อหน้าผู้สั่งจ่ายเช็ค ก็หาผลเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่
13. ออกเช็คไม่ลงวันที่ แม้ผู้สั่งจ่ายจะลงลายมือชื่อกำกับไว้ใต้ช่องว่างสำหรับลงวันที่ออกเช็ค เพื่อให้ผู้ทรงเช็คลงวันตามที่ถูกต้องแท้จริงได้เอง ก็หามีผลทำให้เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คแต่อย่างใดไม่
14. ออกเช็คไม่ลงวันที่ แม้ต่อมาผู้ออกเช็คจะเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเอง ก็หามีผลเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่
15. ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คยินยอมให้ผู้รับเช็คกรอกจำนวนเงินและวันเดือนปีที่ออกเช็คลงในหน้าเช็คต่อหน้าในทันทีที่รับมอบเช็ค เป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์ มิใช่เช็คไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ออกเช็ค
16. ออกเช็คชำระหนี้อันเกิดจากการพนัน
17. ออกเช็คโดยมูลหนี้จากเงินค่าขายสลากกินรวบ
18. ออกเช็คชำระหนี้อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗โดยมูลหนี้จากเงินค่าขายสลากกินรวบ
19. เช็คไม่มีมูลหนี้หรือมูลหนี้ตามเช็คเป็นโมฆะ
20. ออกเช็คเพื่อประกันหนี้
21. ออกเช็คโดยขณะที่ออก ผู้ทรงทราบถึงฐานะทางการเงินของผู้สั่งจ่ายว่าไม่มีความสามารถชำระเงินตามเช็คได้
22. ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คโดยไม่มีเจตนาทุจริต
23. มูลหนี้ที่ออกเช็คระงับสิ้นไป ผู้รับเช็คบอกผู้สั่งจ่ายว่าฉีกเช็คทิ้งไปแล้ว ไม่ได้โอนให้แก่ผู้ใด ผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่นำเงินเข้าบัญชีถือว่าไม่มีเจตนาที่ไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
24. แก้วันที่สั่งจ่ายเช็คโดยผู้ออกเช็คมิได้ยินยอม
25. ยอมรับเช็คที่บุคคลภายนอกสั่งจ่ายแทนเช็คเดิม โดยมีข้อตกลงไม่ให้นำเช็คเดิมไปเรียกเก็บเงินเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แม้ต่อมาผู้ทรงเช็คนำเช็คเดิมไปเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายเช็คเดิมก็ไม่มีความผิด
26. เช็คถูกแก้จำนวนเงิน
27. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินก่อนระยะเวลาที่ตกลงกัน
28. ออกเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่าจะไม่ดำเนินคดีอาญาหรือจะไม่นำไปขึ้นเงินหรือนำไปฟ้องร้องใด ๆ ทั้งสิ้น
29. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินโดยผิดไปจากเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
30. ออกเช็คเพื่อประกันหนี้ผู้อื่น
31. ยอมรับเช็คที่บุคคลอื่นสั่งจ่ายแทนเช็คฉบับเดิมและได้มีการดำเนินคดีอาญาตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เป็นการสละสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คเดิมอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คเดิมอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาด้วย
32. ออกเช็คชำระหนี้ค่าสินค้า ผู้ขายยังส่งสินค้าให้ไม่ครบ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าบัญชีปิดแล้วผู้สั่งจ่ายเช็คก็ไม่มีความผิด
33. ออกเช็คโดยไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้จะมีการโอนเช็คให้แก่ผู้อื่นก็ไม่ทำให้การออกเช็คซึ่งไม่ผิดกฎหมายกลับกลายเป็นผิดกฎหมายขึ้นอีก
34. ออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายระคนอยู่ในจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
35. ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ซึ่งมูลหนี้ตามเช็คเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
36. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้ว ผู้สั่งจ่ายใช้เช็คฉบับเดิมมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันสั่งจ่ายใหม่แล้วมอบให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอีกก็ไม่ทำให้เกิดการกระทำผิดขึ้นใหม่
37. มูลหนี้ที่ก่อให้มีการทำสัญญา ยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระ
38. นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เรียกร้องหนี้สิน การเล่นแชร์จากสมาชิกวงแชร์
39. เช็คไม่สมบูรณ์เพราะขาดรายการตามที่กฎหมายบังคับ
40. ทรัพย์สินที่ซื้อชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระ การไม่นำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้ตามเช็ค จึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่า มีความผิดตาม พรบ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
1. ออกเช็คโดยไม่ระบุชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออก
2. ออกเช็คโดยไม่ประทับตราตามที่ตกลงกันไว้กับธนาคาร
3. ออกเช็คโดยเซ็นชื่อและนามสกุลไม่ตรงกับตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร
4. ออกเช็คโดยใช้เช็คของผู้อื่นและลงลายชื่อผู้อื่นเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค
5. ผู้ออกเช็คไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของบัญชี
6. ออกเช็คโดยในขณะที่ออกบัญชีปิดแล้ว
7. มอบให้ผู้อื่นเขียนชื่อตนเองในช่องผู้สั่งจ่ายเช็ค
8. ออกเช็คใหม่แทนเช็คฉบับเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยมิได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามเช็คฉบับเดิม และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับใหม่อีก
9. ขณะออกเช็คและขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คผู้ออกเช็คยังคงมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา เช็คจึงมีมูลหนี้ผูกพันกันตามกฎหมาย แม้ต่อมาสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก็หาทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นและระงับไปไม่
10. ออกเช็คโดยภริยาของผู้ออกเช็คเป็นผู้กรอกวัน เดือน ปี และจำนวนเงินในเช็คด้วยความยินยอมเห็นชอบของผู้ออกเช็ค
11. ออกเช็คชำระหนี้ค่าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ผู้รับเช็คจะโอนเช็คให้แก่ผู้อื่น โดยการนำไปแลกเงินสดก็เป็นเรื่องระหว่างผู้โอนเช็คกับผู้รับโอนไม่ทำให้ผู้ออเช็คพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
12. หนี้เดิมเป็นหนี้ที่ต้องรับผิดตามเช็ค ต่อมาได้ทำสัญญากู้เงินกันแทน แม้ในวันทำสัญญากู้เงินผู้กู้ได้สั่งจ่ายเช็คโดยลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
13. ออกเช็คชำระหนี้เงินที่กู้ยืมให้ผู้กู้ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง
14. ออกเช็คชำระหนี้ค่ามัดจำตามสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา แม้ทำสัญญากับฝ่ายหญิงโดยฝ่ายชายลงชื่อเป็นพยานการออกเช็คชำระหนี้ค่ามัดจำตามสัญญาให้แก่ฝ่ายชาย ถือเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหม
15. ออกเช็คและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
16. ออกเช็คเพื่อแลกเปลี่ยนเช็คฉบับเดิมที่เป็นเช็คแลกเงินสดซึ่งธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เช็คที่ออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
17. ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและเพื่อบังคับได้ตามกฎหมายแม้หลังจากนั้นจะได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันก็เพื่อให้มีหลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้นเท่านั้น กรณีมิใช่ขณะออกเช็คยังไม่มีหนี้ต่อกัน
18. ออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้สัญญากู้ยืมเงินจะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
19. ออกเช็คเพื่อเป็นการวางมัดจำ แม้เช็คลงวันที่หลังจากวันทำสัญญา เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็อาจเป็นความผิดได้
20. ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ทายาทตามที่ตกลงกัน ถือว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระแล้ว
21. ออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม แต่เช็คที่ออกมิได้รวมดอกเบี้ยเกินอัตราจากที่กฎหมายกำหนดเข้าไว้ด้วย
งานจัดทำนิติกรรมสัญญา
- รายละเอียด
- หมวด: ยินดีต้อนรับ
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 01 มกราคม 2554 00:00
- เขียนโดย Thossaponlawyer
- ฮิต: 5234
-
· รับตรวจร่างและจัดทำสัญญาต่างๆ เช่น
-
· สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
-
· สัญญาขายฝากที่ดิน
-
· สัญญาจำนองที่ดิน
-
· สัญญาเช่าที่ดิน
-
· สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์
-
· สัญญาเช่าซื้อที่ดิน
-
· สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์
-
· สัญญาค้ำประกัน
-
· สัญญานายหน้าขายที่ดิน
-
· สัญญาจ้างก่อสร้าง
-
· สัญญาจ้างทำของ
-
· สัญญาจ้างแรงงาน
-
· สัญญากู้ยืมเงิน
-
· สัญญาฝากทรัพย์
-
· สัญญาร่วมทุน
-
· จัดทำพินัยกรรม
-
· สัญญาก่อสร้างตึกแถว
-
· สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์
-
· สัญญาตัวแทน
-
· สัญญาประนีประนอม
-
· สัญญารับสภาพหนี้ ฯลฯ
เนื้อหาอื่นๆ...
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Organization)
|